- หน้าแรก
- ข้อมูลเทศบาล
- ยุทธศาสตร์/แผนงาน
- ข่าว/กิจกรรม
- เอกสาร/รายงาน
- ติดต่อเรา
- E-Services
1.ด้านกายภาพ
1.1 ที่ตั้งของหมู่บ้านหรือชุมชนหรือตำบล
เทศบาลตำบลลาดยาว 111/11 หมู่ 11 ต.ลาดยาว อ.ลาดยาว จ.นครสวรรค์ 60150 ตั้งอยู่ในส่วนหนึ่งของอำเภอลาดยาว โดยมีพื้นที่ขององค์การบริหารส่วนตำบลลาดยาวล้อมรอบ
ขนาดพื้นที่ 2.18 ตารางกิโลเมตร หรือประมาณ 1,362.5 ไร่
1.2 ลักษณะภูมิประเทศ
เทศบาลตำบลลาดยาวมีลักษณะภูมิประเทศเป็นที่ราบกว้างและลาดเอียงจากเชิงเขาด้านทิศตะวันตกลงสู่ทิศตะวันออก บางคนเรียกว่าตามลักษณะทางน้ำไหล เพราะเมื่อก่อนพื้นที่บริเวณนี้ยังไม่มีลำน้ำเป็นขอบคันแน่นอน
ครั้นพอถึงฤดูฝนน้ำจะไหลลาดเป็นทางยาว มีแหล่งน้ำ 2 แห่ง คือ ลำเหมืองสาธารณะ(คลองขุนลาด) และ สระประปา โดยตั้งอยู่ในพื้นที่เขตเมือง ทำให้ไม่มีป่าไม้
1.3 ลักษณะภูมิอากาศ
เทศบาลตำบลลาดยาว มีลักษณะภูมิอากาศแบบมรสุมเมืองร้อน มี 3 ฤดู ได้แก่ ฤดูร้อน เดือนมีนาคม – พฤษภาคม ฤดูฝน เดือนมิถุนายน – ตุลาคม และฤดูหนาว เดือน พฤศจิกายน – กุมภาพันธ์
1.4 ลักษณะของดิน
เทศบาลตำบลลาดยาว มีลักษณะของดินเป็นดินตะกอน ที่เกิดจากการทับถมของตะกอนที่ไหลมากับน้ำป่าไหลหลากจากอุทยานแห่งชาติแม่วงก์ลงมาตามลำดับ
2.ด้านการเมือง/การปกครอง
2.1 เขตการปกครอง
เทศบาลตำบลลาดยาว แบ่งเขตการปกครองเป็น 12 ชุมชน ได้แก่
1.บ้านเหนือ | 7.เกาะอีเพลินหนองไทร |
2.สวนธรรมประทีปบ้านเหนือ | 8.หนองกวาง 1 |
3.วัดศรีสุธรรมาราม | 9.หนองกวาง 2 |
4.วัดลาดยาว | 10.หนองกวาง 3 |
5.ศาลเจ้าแม่ลาดยาว | 11.ตลาดกลาง |
6.ศาลเจ้าพ่อหัวยาง | 12.ศาลเจ้าพ่อลาดยาว |
2.1 การเลือกตั้ง
ฝ่ายนิติบัญญัติ ได้แก่ สภาเทศบาล ประกอบไปด้วยสมาชิกสภาเทศบาล จำนวน 12 คน มาจากการเลือกตั้งแบบแบ่งเขต จำนวน 2 เขต มีกำหนดวาระคราวละ 4 ปี นับแต่วันเลือกตั้ง
ฝ่ายบริหาร ได้แก่นายกเทศมนตรี ซึ่งมาจากการเลือกตั้งโดยตรงเป็นผู้บริหารและมี
คณะผู้บริหาร ซึ่งมาจากการแต่งตั้งของนายกเทศมนตรีมิใช่มาจากการเลือกตั้ง ประกอบด้วย รองนายกเทศมนตรี จำนวน 2 คน เลขานุการนายกเทศมนตรี จำนวน 1 คน และที่ปรึกษานายกเทศมนตรี จำนวน 1 คน
3. ประชากร
3.1 ข้อมูลเกี่ยวกับจำนวนประชากรปี 2567
จำนวนประชากรแยกตามเพศ
ชาย(คน) |
หญิง (คน) |
รวม(คน) |
ครัวเรือน (หลัง) |
2,686 (46.77%) |
3,056 (53.22%) |
5,742 (100%) |
3,523 |
(ข้อมูล ณ เดือน เมษายน พ.ศ. 2566)
จำนวนประชากรแยกตามสัญชาติ
สัญชาติ |
จำนวน (คน) |
|||
ชาย |
หญิง |
รวม |
ร้อยละ |
|
ไทย |
2,680 |
3,050 |
5,730 |
99.68 |
จีน |
6 |
6 |
12 |
0.20 |
สัญชาติอื่นที่ไม่ใช่ไทย/จีน |
3 |
4 |
7 |
0.12 |
รวม |
2,834 |
3,185 |
6,019 |
100 |
(ข้อมูล ณ เดือน เมษายน พ.ศ. 2566)
ข้อมูลเปรียบเทียบย้อนหลัง 5 ปี และการคาดการณ์จำนวนประชากรในอนาคต
ปีพุทธศักราช |
ชาย |
หญิง |
รวม |
2561 |
3,168 |
3,499 |
6,667 |
2562 |
3,142 |
3,451 |
6,593 |
2563 |
3,144 |
3,442 |
6,586 |
2564 |
3,134 |
3,435 |
6,569 |
2565 |
3,061 |
3,404 |
6,465 |
2566 |
2,834 |
3,185 |
6,019 |
(ข้อมูล ณ เดือน เมษายน พ.ศ. 2561 - 2566)
จำนวนประชากรมีแนวโน้มลดลงทุกปี โดยมีจำนวนมากที่สุดในช่วงอายุ 51-60 ปี
3.2 ช่วงอายุและจำนวนประชากร ปี 2564
เกณฑ์อายุ |
จำนวน (คน) |
|||
ชาย |
หญิง |
รวม |
ร้อยละ |
|
แรกเกิด –18 ปี (เฉพาะสัญชาติไทย) |
526 |
483 |
1,009 |
16.76 |
19 – 59 ปี (เฉพาะสัญชาติไทย) |
1,522 |
1,623 |
3,145 |
52.25 |
60 ปีขึ้นไป (เฉพาะสัญชาติไทย) |
786 |
1,079 |
1,865 |
30.99 |
รวม |
2,834 |
3,185 |
6,019 |
100.00 |
บุคคลที่มีสิทธิเลือกตั้ง |
2,311 |
2,711 |
5,022 |
83.44 |
บุคคลที่ต้องขึ้นทะเบียนทหาร |
27 |
0 |
27 |
0.45 |
บุคคลที่ต้องเข้ารับเกณฑ์ทหาร |
19 |
0 |
19 |
0.32 |
ที่มา: สำนักทะเบียนท้องถิ่นเทศบาลตำบลลาดยาว ณ เดือน เมษายน 2564
4. สภาพทางสังคม
4.1 การศึกษา
ในปีการศึกษา พ.ศ.2566 ในเขตเทศบาลตำบลลาดยาว มีโรงเรียน 4 แห่ง และศูนย์พัฒนาเด็กเล็ก 1 แห่ง มีจำนวนครูทั้งสิ้น 103 คน และจำนวนนักเรียนทั้งสิ้น 2,278 คน
โรงเรียนหรือศูนย์พัฒนาเด็กเล็ก ในสังกัด |
ปีการ ศึกษา |
จำนวน (แห่ง) |
จำนวนห้องเรียน |
จำนวนครู(คน) |
จำนวน นักเรียน (คน) |
||
ทำการสอน |
ไม่ได้ทำการสอน |
รวม |
|||||
โรงเรียนอนุบาลลาดยาว |
2566 |
1 |
37 |
58 |
- |
58 |
1,254 |
โรงเรียนอนุบาลเสริมสวัสดิ์วิทยา |
2566 |
1 |
4 |
4 |
- |
4 |
71 |
โรงเรียนเทศบาลตำบลลาดยาว |
2566 |
1 |
13 |
17 |
- |
17 |
365 |
ศูนย์พัฒนาเด็กเล็กเทศบาลตำบลลาดยาว |
2566 |
1 |
4 |
8 |
- |
8 |
99 |
ที่มา : ร.ร.อนุบาลลาดยาว, ร.ร.บูรพาศึกษา, ร.ร.อนุบาลเสริมสวัสดิ์วิทยา, รร.เทศบาลตำบลลาดยาว
และศูนย์พัฒนาเด็กเล็กฯ (พฤษภาคม พ.ศ.2566)
นอกจากนั้น ในเขตเทศบาลตำบลลาดยาว มีห้องสมุดประชาชน จำนวน 1 แห่ง ตั้งอยู่ที่
ศูนย์การศึกษานอกระบบและตามอัธยาศัยอำเภอลาดยาว
4.2 สาธารณสุข
เทศบาลตำบลลาดยาว มีสถิติข้อมูลเกี่ยวกับคลินิกสถานพยาบาลและร้านขายยา ดังนี้
คลินิก/สถานพยาบาล
1. คลินิกแพทย์แผนปัจจุบัน จำนวน 3 แห่ง
2. คลินิกทันตแพทย์ จำนวน 1 แห่ง
3. สถานพยาบาล จำนวน 5 แห่ง
4. ร้านสัตวแพทย์ จำนวน 2 แห่ง
ร้านขายยา
1. ร้านขายยาแผนปัจจุบัน จำนวน 13 แห่ง
2. ร้านขายยาแผนโบราณ จำนวน 1 แห่ง
4.3 อาชญากรรม
ประเภทคดี |
พ.ศ. 2564 |
พ.ศ. 2565 |
พ.ศ. 2566 |
||||||
คดีที่เกิด |
จับกุมได้ |
ผู้ต้องหา |
คดีที่เกิด |
จับกุมได้ |
ผู้ต้องหา |
คดีที่เกิด |
จับกุมได้ |
ผู้ต้องหา |
|
-คดีอุกฉกรรจ์ และสะเทือนขวัญ |
- |
- |
- |
- |
- |
- |
- |
- |
- |
-คดีประทุษร้ายต่อชีวิต ร่างกายและเพศ |
2 |
2 |
3 |
- |
- |
- |
- |
- |
- |
-คดีประทุษร้ายต่อทรัพย์ |
10 |
10 |
12 |
5 |
5 |
7 |
1 |
1 |
1 |
-คดียาเสพติด |
22 |
22 |
22 |
35 |
35 |
35 |
6 |
6 |
6 |
-คดีที่รัฐเป็นผู้เสียหาย |
27 |
27 |
28 |
7 |
7 |
10 |
5 |
5 |
5 |
-คดีอุบัติเหตุทางจราจร |
6 |
6 |
6 |
7 |
7 |
7 |
3 |
3 |
3 |
ที่มา : สถานีตำรวจภูธรอำเภอลาดยาว (พฤษภาคม พ.ศ.2566)
4.4 ยาเสพติด
ปัญหายาเสพติดในชุมชนของเทศบาลตำบลลาดยาว จากการที่ทางสถานีตำรวจภูธรลาดยาว ได้แจ้งให้กับเทศบาลทราบนั้นพบว่าในเขตเทศบาลยังมีผู้ที่ติดยาเสพติด แต่เมื่อเทียบกับพื้นที่อื่นถือว่าน้อย และยังไม่พบผู้ค้า เหตุผลก็เนื่องมาจากว่าได้รับความร่วมมือกับทางผู้นำประชาชน หน่วยงานของเทศบาลฯ ที่ช่วยสอดส่องดูแลอยู่เป็นประจำ
4.5 การสังคมสงเคราะห์
ปีงบประมาณ พ.ศ.2565 และพ.ศ.2566 เทศบาลตำบลลาดยาว ดำเนินการด้านสังคมสงเคราะห์ ดังนี้
|
ปีงบประมาณ |
จำนวน (ราย) |
งบประมาณ (บาท) |
ผู้สูงอายุที่ได้รับเบี้ยยังชีพ |
2565 |
1,229 |
9,507,900 |
|
2566 |
1,252 |
9,590,800 |
ผู้พิการที่ได้รับเบี้ยยังชีพ |
2565 |
206 |
1,979,000 |
|
2566 |
210 |
2,015,200 |
ผู้ป่วยเอดส์ที่ได้รับเบี้ยยังชีพ |
2565 |
7 |
42,000 |
|
2566 |
7 |
37,000 |
** คำนวณจากฐานข้อมูลปัจจุบัน
เบี้ยผู้สูงอายุ
ลำดับ |
ช่วงอายุ |
ผู้สูงอายุ(ชาย) |
ผู้สูงอายุ(หญิง) |
รวม(ราย) |
1. |
อายุ 60-69 ปี (600บาท) |
407 |
521 |
928 |
2. |
อายุ 70-79 ปี (700บาท) |
239 |
370 |
609 |
3. |
อายุ 80-89 ปี (800บาท) |
119 |
169 |
288 |
4. |
อายุ 90 ปีขึ้นไป (1,000 บาท) |
54 |
63 |
117 |
|
รวมทั้งสิ้น |
819 |
1,123 |
1,942 |
เบี้ยความพิการ
ลำดับ |
จำนวนเงิน |
ผู้สูงอายุ(ชาย) |
ผู้สูงอายุ(หญิง) |
รวม(ราย) |
1. |
(800บาท) |
104 |
100 |
204 |
|
รวมทั้งสิ้น |
104 |
100 |
204 |
เบี้ยผู้ป่วยเอดส์
ลำดับ |
จำนวนเงิน |
ผู้สูงอายุ(ชาย) |
ผู้สูงอายุ(หญิง) |
รวม(ราย) |
1. |
(500บาท) |
5 |
2 |
7 |
|
รวมทั้งสิ้น |
5 |
2 |
7 |
ที่มา : งานพัฒนาชุมชน (พฤษภาคม พ.ศ.2566)
5. ระบบบริการพื้นฐาน
5.1 การคมนาคมขนส่ง (ทางบก)
เทศบาลตำบลลาดยาว มีสถานีขนส่งผู้โดยสาร จำนวน 2 แห่ง คือ สถานีขนส่งผู้โดยสารอำเภอลาดยาว และท่ารถตู้ลาดยาว บริเวณทางเข้าหน้าวัดลาดยาว เส้นทางหลักจากอำเภอลาดยาวเข้าสู่ตัวจังหวัดนครสวรรค์ คือ ถนนหลวง หมายเลข 1072 ตอน ลาดยาว-หนองเบน ระยะทาง 40 กิโลเมตร เป็นถนนลาดยางตลอดสาย
5.2 การไฟฟ้า
การบริการไฟฟ้าอยู่ในความรับผิดชอบของการไฟฟ้าส่วนภูมิภาคอำเภอลาดยาว ในปี พ.ศ.2563 มีจำนวนผู้ใช้ไฟฟ้าทั้งสิ้น 26,592 ราย ปริมาณกระแสไฟฟ้าที่ใช้ในอำเภอ รวม 77.677 ล้านยูนิต
ปริมาณการใช้กระแสไฟฟ้า |
พ.ศ.2562 |
พ.ศ.2563 |
พ.ศ.2564 |
จำนวนผู้ใช้ไฟฟ้า (ราย) การจำหน่ายกระแสไฟฟ้า (ล้านยูนิต) - บ้านอยู่อาศัยขนาดเล็ก - บ้านอยู่อาศัยขนาดใหญ่ - กิจการขนาดเล็ก - กิจการขนาดกลาง - กิจการขนาดใหญ่ - ไฟชั่วคราว |
26,196
12.419 32.576 11.822 13.984 5.344 0.630 |
26,592
13.739 34.553 11.955 13.273 3.714 0.443 |
26,759
4.218 10.602 3.937 4.564 1.117 0.114 |
ที่มา : การไฟฟ้าส่วนภูมิภาคอำเภอลาดยาว (เมษายน 2564)
จำนวนผู้ใช้ไฟฟ้า ปี 2563 เพิ่มขึ้นจากปี 2562 ร้อยละ 1.51 โดยมีแนวโน้มเพิ่มมากขึ้น ณ เดือนเมษายน 2564 มีจำนวนผู้ใช้ไฟฟ้าเพิ่มขึ้นจาก ปี 2563 ร้อยละ 0.63
5.3 ด้านประปา
ปี พ.ศ. 2566 เทศบาลตำบลลาดยาว มีการประปา 1 แห่ง ได้แก่ การประปาส่วนภูมิภาคสาขาลาดยาว สามารถผลิตน้ำประปาโดยเฉลี่ย 3,600 ลบ.ม./วัน
ปริมาณ (ลบ.ม.) |
พ.ศ. 2562 |
พ.ศ.2563 |
พ.ศ.2564 |
กำลังการผลิต (ลบ.ม./วัน) |
3,600 |
3,600 |
3,600 |
น้ำที่ผลิตได้ |
1,511,395 |
1,292,871 |
426,922 |
ปริมาณน้ำที่จำหน่าย |
1,181,212 |
1,444,679 |
419,517 |
ปริมาณน้ำที่จ่ายเพื่อสาธารณประโยชน์ |
8 |
43 |
10 |
จำนวนผู้ใช้ (ราย) |
6,050 |
6,206 |
6,250 |
ที่มา : การประปาส่วนภูมิภาคสาขาลาดยาว (พฤษภาคม 2566)
จำนวนผู้ใช้น้ำประปา ปี 2563 เพิ่มขึ้นจาก ปี 2562 ร้อยละ 2.58 โดยมีแนวโน้มเพิ่มมากขึ้น ณ เดือนพฤษภาคม 2564 มีจำนวนผู้ใช้น้ำประปาเพิ่มขึ้นจาก ปี 2563 ร้อยละ 0.71 ทั้งนี้ จำนวนน้ำที่ผลิตได้มีจำนวนลดลง แต่มีการซื้อน้ำจากหน่วยงานอื่นเข้ามาเพิ่มเติมในส่วนที่ขาดแคลน
5.4 โทรศัพท์
มีเครือข่ายของโทรศัพท์ให้บริการ ได้แก่ AIS, DTAC, TrueMove H., บริษัท โทรคมนาคมแห่งชาติ จำกัด (มหาชน) หรือ NT
5.5 ระบบโลจิสติกส์ หรือ การขนส่ง
ที่ทำการไปรษณีย์ลาดยาว จำนวน 1 แห่ง
Flash Express สาขาลาดยาว จำนวน 1 แห่ง
Kerry Express สาขาลาดยาว จำนวน 1 แห่ง
J&T Express สาขาลาดยาว จำนวน 1 แห่ง
SPEED-D ในร้าน 7-Eleven จำนวน 3 แห่ง
6. ระบบเศรษฐกิจ
6.1 การเกษตร
เนื่องจากตั้งอยู่ในพื้นที่เขตเมือง ทำให้ไม่มีป่าไม้ และพื้นที่เกษตรกรรม
6.2 การประมง
มีแหล่งน้ำ 2 แห่ง คือ ลำเหมืองสาธารณะ(คลองขุนลาด) และ สระประปา ไม่มีการทำประมง
6.3 การปศุสัตว์
เนื่องจากตั้งอยู่ในพื้นที่เขตเมือง ทำให้ไม่มีป่าไม้ และพื้นที่ปศุสัตว์
6.4 การบริการ
มีหน่วยงานราชการ/รัฐวิสาหกิจ ดังนี้
- ที่ทำการอำเภอลาดยาว
- สำนักงานเกษตรอำเภอลาดยาว
- สำนักงานพัฒนาชุมชนอำเภอลาดยาว
- สำนักงานสาธารณสุขอำเภอลาดยาว
- สำนักงานปศุสัตว์อำเภอลาดยาว
- สำนักงานประมงอำเภอลาดยาว
- ศูนย์การศึกษานอกระบบและตามอัธยาศัยอำเภอลาดยาว
- ห้องสมุดประชาชน
- สถานีตำรวจภูธรลาดยาว
- สำนักงานสรรพากรอำเภอลาดยาว
- สำนักงานสรรพสามิตอำเภอลาดยาว
- สำนักงานท้องถิ่นอำเภอลาดยาว
- สำนักงานที่ดินจังหวัดนครสวรรค์ สาขาลาดยาว
- สถานีขนส่งผู้โดยสารอำเภอลาดยาว
- สำนักงานประปาส่วนภูมิภาค สาขาลาดยาว
- ที่ทำการไปรษณีย์ลาดยาว
- สหกรณ์การเกษตรอำเภอลาดยาว
6.5 การท่องเที่ยว
พื้นที่เทศบาลตำบลลาดยาว มีถนนทางหลวงที่ผ่านไปยังที่มีแหล่งท่องเที่ยว เช่น จังหวัด อุทัยธานี กำแพงเพชร ชัยนาทและพิษณุโลก โดยแหล่งท่องเที่ยวในพื้นที่ใกล้เคียง เช่น ทุ่งหินเทิน
แก่งเกาะใหญ่ น้ำตกแม่เรวา น้ำตกคลองลาน น้ำตกคลองน้ำไหล เป็นต้น
ทั้งนี้ เทศบาลตำบลลาดยาวได้จัดให้มีศูนย์ประชาสัมพันธ์การท่องเที่ยว ซึ่งตั้งอยู่ในวัดลาดยาว ให้บริการนักท่องเที่ยวอยู่
6.6 การอุตสาหกรรม
สถานประกอบการประเภทอุตสาหกรรมการเกษตรและอุตสาหกรรมเครื่องจักรกล 4 แห่ง
- โรงงานสีข้าว มีจำนวน 1 แห่ง
- โรงงานทอผ้า มีจำนวน 1 แห่ง
- โรงงานผลิตยา มีจำนวน 1 แห่ง
- โรงงานผลิตกระเป๋า มีจำนวน 1 แห่ง
6.7 การพาณิชย์และกลุ่มอาชีพ
การพาณิชย์
- สถานีบริการน้ำมัน มีจำนวน 1 แห่ง
- ร้านสะดวกซื้อ มีจำนวน 4 แห่ง
- ห้างสรรพสินค้า มีจำนวน 1 แห่ง
- ตลาดสดเอกชน มีจำนวน 1 แห่ง
- ธนาคาร มีจำนวน 5 แห่ง
- สหกรณ์การเกษตร มีจำนวน 1 แห่ง
- แมนชั่น มีจำนวน 3 แห่ง
- รีสอร์ท มีจำนวน 1 แห่ง
กลุ่มอาชีพ
- กลุ่มน้ำพริกแกง หมู่ 6
6.8 แรงงาน
ข้อมูล จปฐ. ด้านประเภทอาชีพของประชากรในเขตเทศบาล พ.ศ.2562 ประชากรส่วนใหญ่ประกอบอาชีพ รับจ้างทั่วไป 33.68 % รองลงมา คือ ค้าขาย 20.07% ,กำลังศึกษา 14.02% ,ไม่มีอาชีพ 6.78% และ รับราชการ 5.99%
7. ศาสนาประเพณีวัฒนธรรม
7.1 การนับถือศาสนา
ประชากรในเขตเทศบาลตำบลลาดยาวส่วนใหญ่นับถือศาสนาพุทธ ข้อมูลด้านศาสนาในเขตเทศบาลตำบลลาดยาว ปี พ.ศ.2566 มีดังนี้
- วัด จำนวน 2 แห่ง
- สำนักสงฆ์ จำนวน 1 แห่ง
- ศาลเจ้า จำนวน 1 แห่ง
- คริสตจักร จำนวน 1 แห่ง
7.2 ประเพณีและงานประจำปี
- ประเพณีวันขึ้นปีใหม่
- ประเพณีวันสงกรานต์
- ประเพณีวันเข้าพรรษา
- ประเพณีวันออกพรรษา
- ประเพณีวันลอยกระทง
- ประเพณีงานประจำปีเจ้าพ่อเจ้าแม่ลาดยาว
- ประเพณีตักบาตรเทโว
7.3 ภูมิปัญญาท้องถิ่น ภาษาถิ่น
- การเล่านิทานพื้นบ้าน
- งานฝีมือ ถักกระเป๋าเชือกร่ม
- ดนตรีพื้นบ้าน กลองยาว
- การสานของเล่นจากวัสดุธรรมชาติ
- การทำไม้กวาดดอกหญ้า
- รำวงมาตรฐาน
7.4 สินค้าพื้นเมืองและของที่ระลึก
- น้ำพริกแกง
- ขนมแม่ทวี
- ดอกไม้ประดิษฐ์จากกระดาษสา
8. ทรัพยากรธรรมชาติ
8.1 น้ำ – ไม่มีแหล่งน้ำทางธรรมชาติ มีลำเหมืองสาธารณะ(คลองขุนลาด) และ สระประปา
8.2 ป่าไม้ – ไม่มีป่าไม้
8.3 ภูเขา – ไม่มีภูเขา
9. อื่นๆ (ถ้ามีระบุด้วย) –
ในอดีตชุมชนเมืองลาดยาว เป็นตำบลหนึ่งของอำเภอโกรกพระ ซึ่งสภาพแวดล้อมทั่วไปเป็น ป่าทึบ มีความอุดมสมบูรณ์ ทั้งทางด้านกายภาพและชีวภาพ ปี พ.ศ.2456 ขุนลาดบริบาล (หลง หมู่พยัคฆ์) กำนันตำบลลาดยาว ได้เป็นผู้บุกเบิกและพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานต่าง ๆ ของตำบลลาดยาวให้เจริญยิ่งขึ้น จึงได้เสนอยกฐานะตำบลลาดยาวเป็นอำเภอลาดยาว ต่อพลโทพระยาเทพหัสดินทร์ สมุหเทศาภิบาล ผู้สำเร็จราชการมณฑลนครสวรรค์ และพระยาสุนทรพิพิธ ข้าหลวงนครสวรรค์ในสมัยนั้น และในปี พ.ศ.2468 พระยามหินทราเดชานุวัฒน์ ได้ดำรงตำแหน่ง สมุหเทศาภิบาล ผู้สำเร็จราชการมณฑลนครสวรรค์ จึงอนุมัติให้ตำบลลาดยาว เป็นอำเภอลาดยาว ตั้งแต่นั้นเป็นต้นมา
จนถึง พ.ศ. 2499 ได้มีการประกาศจัดตั้งสุขาภิบาลลาดยาวขึ้นโดยความเห็นชอบของราษฎร และเป็นไปตามหลักเกณฑ์การจัดตั้งสุขาภิบาลตามประกาศกระทรวงมหาดไทย ลงในราชกิจจานุเบกษา เล่มที่ 73 ตอนที่ 60 ฉบับพิเศษ หน้า 80 ลงวันที่ 18 กรกฎาคม พ.ศ.2499 โดยมีนายถนอม กิจรุ่งเรือง นายอำเภอลาดยาว เป็นประธานกรรมการสุขาภิบาล ต่อมาใน พ.ศ.2542 ซึ่งมีนายชวน หลีกภัย เป็นนายกรัฐมนตรี ได้มีการออกพระราชบัญญัติเปลี่ยนแปลงฐานะสุขาภิบาลเป็นเทศบาล มีผลให้สุขาภิบาลลาดยาว เปลี่ยนเป็นเทศบาลตำบลลาดยาว ตั้งแต่วันที่ 25 พฤษภาคม 2542 เป็นต้นมา
ที่มาของคำว่า “ ลาดยาว ” นั้นได้มีผู้สันนิษฐานไว้ต่างๆ กันไป บางคนก็เรียกว่าตามลักษณะภูมิประเทศที่มีลักษณะเป็นที่ราบกว้างและลาดเอียงจากเชิงเขาด้านทิศตะวันตกลงสู่ทิศตะวันออก บางคนว่าเรียกตามลักษณะทางน้ำไหล เพราะเมื่อก่อนพื้นที่บริเวณนี้ยังไม่มีลำน้ำเป็นขอบคันแน่นอน ครั้นพอถึงฤดูฝนน้ำจะไหลลาดเป็นทางยาว จึงเรียกกันว่า “ ลาดยาว ” เป็นต้น